วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

ประวัติรักบี้ในประเทศไทย
                สำหรับรักบี้ในเมืองไทยนั้น เริ่มต้นด้วยชาวยุโรปโดยเฉพาะชาวอังกฤษที่เข้ามาทำการค้าหรือเข้ามาเป็นครูในโรงเรียนของรัฐ ได้นำรักบี้เข้ามาเล่น โดยใช้สถานที่เล่นคือทุ่งพระสุเมรุ (ท้องสนามหลวงปัจจุบัน) ต่อมาปี 2444 พระพุทธเจ้าหลวงได้ให้ใช้ที่ดินว่างเปล่าที่ทุ่งสระปทุมวันเป็นที่เล่นกีฬาของชาวต่างชาติที่อยู่ในเมืองไทย โดยใช้ชื่อว่า "ราชกรีฑาสโมสร" เกิดเป็นสโมสรกีฬาหลายชนิดมาถึงปี 2452 มีการเล่นรักบี้อย่างจริงจัง ทุกวันเสาร์โดยขั้นแรกเป็นการเล่นกันเองระหว่างต่างชาติล้วนๆหลังจากนั้นคนไทยที่ไปศึกษายังประเทศอังกฤษและเล่นรักบี้ที่นั่นเมื่อกลับมาเมืองไทยได้เข้าร่วมเล่นเรื่อยมา ครั้นต่อมาเมื่อมีจำนวนคนไทยและที่ไม่ใช่คนอังกฤษเล่นมากขึ้น ได้รวมตัวกันตั้งเป็นทีมแข่งขัน กันเอง 3 ทีม คืออังกฤษ สก๊อตแลนด์ และทีมรวมจากหลาย ๆ ชาติรวมทั้งคนไทย ชิงถ้วย HAMSAIRS
ปี พ.ศ.2454 มีการเริ่มเล่นครั้ง แรกที่ราชกรีฑาสโมสร Royal Bangkok Sport Club โดย
กลุ่มสมาชิกของสโมสร ซึ่งเป็นชาวอังกฤษและชาวยุโรปที่เคยเล่นรักบี้ฟุตบอลมาก่อน และยังจัดให้มีการแข่งขันชิงถ้วย Hampshine ระหว่างสมาชิกของราชกรีฑาเอง โดยมีชุดเข้าแข่งขัน 3 ทีม คือEngland, Scotland และ The Rest
ปี พ.ศ.2463 คนไทยที่ได้ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และได้เคยเล่นรักบี้ฟุตบอลเมื่อกลับมาก็ได้ไปร่วมเล่นอยู่ที่ราชกรีฑาสโมสร ได้แก่ คุณล้วน ณ ระนอง ซึ่งเคยเล่นในทีมของ มหาวิทยาลัยOxford และได้เสื้อสามารถ (Grey hound) หม่อมเจ้าศักสตาวัส จักรพันธ์ หม่อมเจ้าประสพศรี จีระประวัติ พระสุทัศน์ พงศ์พิสุทธิ์ และหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ในปีเดียวกันนี้เองได้มีการแข่งขันระหว่างทีม Penang Sport Club กับทีม Royal Bangkok Sport Club ขึ้นเพื่อชิงถ้วย Davyเป็นการแข่งขันแบบทีมเหย้าทีมเยือน โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพฝ่ายละปี ในราวปี พ.ศ. 2473 นักรักบี้ฟุตบอลที่เป็นคนไทยที่ไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษได้กลับมามากขึ้น ก็ได้ช่วยกันวางรากฐานกีฬารักบี้ฟุตบอลให้แก่คนไทย และในปีเดียวกันก็ได้ มีการแข่งขันทำนองเดียวกับ Davy Club ขึ้น ระหว่างทีม Royal Bangkok Sport Club กับทีม Cercle Sport if Saigonais และในระยะนี้ก็ได้มีทีมรักบี้ฟุตบอลที่เป็นคนไทย เช่น ทีมกรมไปรษณีย์ของพระสุทัศน์และทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปี พ.ศ.2481 กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ จึงได้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทยขึ้น เพื่อส่งเสริมกีฬาชนิดนี้ และได้มีการเรียกประชุมผู้สนใจเป็นครั้งแรกที่ราชกรีฑาสโมสร ได้มีชาวต่างประเทศเข้าประชุมหลายท่าน ส่วนคนไทยก็มีผู้แทนของราชตฤณมัยสมาคม ผู้แทนกองทัพอากาศ และผู้แทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ นาย E.W. Dean หม่อมเจ้าจันทร์รัชนีหม่อมเจ้าประสพศรี จีระประวัติ เป็นต้น     ที่ประชุมได้ลงมติให้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งสมาคมขึ้นโดยมีกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นนายกคนแรกของสมาคมและหม่อมเจ้าจันทร์รัชนี เป็นเลขานุการ และได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายในปี พ.ศ. 2482 เมื่อได้มีสมาคมแล้วก็ได้รับสมัครสมาชิก และจัดให้มีการแข่งขันเพื่อชิงถ้วย British Council ขึ้น ต่อมาจำนวนสมาชิกของสมาคมก็เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันด้วย British Council เป็นถ้วยชนะเลิศของการแข่งขันประเภทสโมสร ปี พ.ศ.2482 สมาคมรักบี้ฟุตบอลได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นในครั้งนั้นมีทีมอยู่เพียง 4 ทีม คือทีมราชกรีฑาสโมสร ทีมราชตฤณมัยสมาคม ทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทีมทหารอากาศ   ปี พ.ศ. 2486 ซึ่งอยู่ในภาวะสงคราม สมาคมไม่อาจจัดการแข่งขันประเภทสโมสรได้แต่สมาคมก็ไม่ได้หยุดนิ่ง โดยความร่วมมือของพระยาจินดารักษ์อธิบดีกรมพลศึกษาในสมัยนั้นได้จัดการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเภทมหาวิทยาลัย (อุดมศึกษา) ขึ้น โดยชิงโล่ของสมาคมรักบี้ฟุตบอล  ปี พ.ศ.2493 สมาคมรักบี้ฟุตบอลได้รับให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ ต่อมาสมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทยก็ได้จัดการแข่งขันมากขึ้นแต่ก็ยังจัดอยู่เพียงภายในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น ได้จัดการแข่งขันออกเป็นประเภทโรงเรียน ได้จัดการแข่งขันประเภทโรงเรียนชิงโล่ห์อุปนายก ซึ่งตอนนั้นมีอยู่ 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนเทพศิรินทร์ เตรียมอุดมศึกษา เตรียมธรรมศาสตร์โรงเรียนเตรียมนายเรือ และยังมีการจัดแข่งขันประเภทอุดมศึกษาและประเภทสโมสร อีกด้วย  นอกจากนั้นยังได้บรรจุวิชารักบี้ฟุตบอลไว้ในหลักสูตรของวิทยาลัยพลศึกษาปี พ.ศ. 2494 สมาคมได้ส่งทีมรักบี้ฟุตบอลของสมาคม T.R.U. ไปเล่นที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ การไปครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการเล่นรักบี้ฟุตบอลที่ดีเพิ่มขึ้นอีกมาก      ปี พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานด้วยวชิราลงกรณ์ ตามพระนามเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์เป็นรางวัลในการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณี ระหว่างทีมประเทศไทยกับทีมมาเลเซียซึ่งได้จัดแข่งขันเป็นครั้งแรกด้วย  ปี พ.ศ. 2502 สมาคมได้จัดการแข่งขันขึ้นอีกประเภทหนึ่งเป็นการแข่งขันทั่วไปประเภทแพ้คัดออก โดยชิงถ้วยของ ฯพณฯ พลเอกประภาส จารุ    เสถียร   ปี พ.ศ.2517ได้มีการบรรจุกีฬารักบี้ฟุตบอลในการแข่งขันในกีฬามหาวิทยาลัย   ปี พ.ศ.2519ได้บรรจุวิชารักบี้ฟุตบอลไว้ในหลักสูตรการฝึกหัดครูของสภาการฝึกหัดครู     ปี พ.ศ.2524ได้บรรจุวิชารักบี้ฟุตบอลไว้ในวิชาเลือกในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ  ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย     
ปี พ.ศ.2524 ปัจจุบันกีฬารักบี้ฟุตบอลได้เป็นวิชาหนึ่งซึ่งทำการสอนทั้งในโรงเรียน วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาลัยครู มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น